วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สระและวรรณยุกต์ในภาษาจีน

เสียงสระ
1. เสียงสระเดี่ยวมี 6 เสียงดังนี้
a อา o โอ e เออ i อี u วู ü ยี-วู(เวลาออกเสียงให้ทำริมฝีปากเป็นรูปแบนกลมแล้วรวมเสียงขึ้นจนกลายเป็นเสียงเดียวกัน)
2. เสียงสระผสมมี 30 เสียง ดังนี้ (เพื่อความง่ายที่จำเราจะเรียงเสียงสระผสมตามสระตัวนำ)
a อา --> ai อาย ao เอา an อาน ang อาง
o ออ --> ou โอว ong อง
e เออ --> er เออร์(ห่อลิ้น) ei เอย en เอิน eng เอิง
i อี --> ia ยาiao เยียว ie(ê) เย iou(iu) โยว
ian เยียน in ยีน iang เยียง ing ยิง
iong ยง
u วู --> ua วา uo โว uai วาย uei(ui) เวย
uan วาน uen(un) เวิน uang วาง ueng เวิง
ü ยี-วู --> üe เยว üan เยวียน ün ยูน
งอขึ้นไปแจะเพดานแข็ง
3. ในกรณีที่สระที่เริ่มต้นด้วยสระ i (รวมสระเดี่ยว i ) เป็นพยางค์ตามลำพัง โดยไม่มีพยัญชนะ ให้ใช้พยัญชนะกึ่งสระ y เติมหรือแทนสระ i เช่น
i --> yi ia --> ya iao --> yao
ie --> ye iou --> you ian --> yan
in --> iang iang --> yang
ing --> ying iong --> yong
4. ในกรณีสระที่เริ่มต้นด้วยสระ ü (รวมสระเดียว ü) เป็นพยางค์ตามลำพังโดยไม่มีพยัญชนะ ให้ใช้พยัญชนะกึ่งสระ y ไว้อยู่ข้างหน้าโดยต้องตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ไป เช่น
ü --> yu üe --> yue
üan --> yuan ün --> yun
5. ในกรณีที่สระที่เริ่มต้นด้วยสระ ü (รวมสระเดี่ยว ü) เป็นพยางค์ตามลำพัง โดยไม่มีพยัญชนะ ให้ใช้พยัญชนะกึ่งสระ w เติมหรือแทนสระ ü เช่น
u --> wu ua --> wa uo --> wo
uai --> wai uei --> wei uan --> wan
uen --> wen uang --> wang ueng --> weng
6. ในกรณีสระที่เริ่มต้นด้วยสระ ü (รวมสระเดียว ü) ประสมกับพยัญชนะ j q x ให้ตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ไป แต่เวลาประสมกับพยัญชนะ l n จะละสองจุดดังกล่าวไม่ได้
7. สระ e ในสระผสม ie üe เสียงจริงคือ ê แต่เพื่อความสะดวกเวลาเขียนยังคงเขียนเป็น e
8. ในกรณีสระ i ตามหลังพยัญชนะ z c s zh ch sh r เสียงจริงของ i ผันไปตามพยัญชนะ ยังคงเชียนเป็น zi ci si zhi chi shi ri
9. ในกรณีสระผสม iou uei uen ประสมกับพยัญชนะ ให้ย่อเป็น iu ui un ตามลำดับ คือ
iou --> iu เช่น diū
uei --> ui เช่น duì
uen --> un เช่น dūn
credit : ดัดแปลงมาจากชีทเรียนพิเศษภาษาจีนที่ ma-ed
เครื่องหมายวรรคเสียง [Dividing mark]
เมื่อพยางค์เสียงที่ขึ้นต้นด้วย a, o, e ตามอยู่หลังพยางค์เสียงอื่น หากระยะแบ่งเขตของพยางค์เกิดความสับสนจะใช้เครื่องหมาย ( )มาคั่นกลาง เช่น Tiān ānmén
credit : ดัดแปลงมาจากชีทเรียนพิเศษภาษาจีนที่ ma-ed
วรรณยุกต์ของจีนมี 4 รูป
阴平 阳平 上声 去声 เสียงเบา
ˉ ˊ ˇ ˋ
อินผิง เอี๋ยงผิง ส่างเซิง ชวี่เซิง เสียงเบา
1. วรรณยุกต์เสียงที่ 1 เรียกว่า อินผิง ( ˉ )เป็นเสียงราบเรียบแต่ค่อนข้างสูง = วรรณยุกต์เสียงสามัญของไทย
2. วรรณยุกต์เสียงที่ 2 เรียกว่า เอี๋ยงผิง ( ˊ )เป็นเสียง กลาง-ขึ้น-สูง = วรรณยุกต์เสียงจัตวาของไทย
3. วรรณยุกต์เสียงที่ 3 เรียกว่า ส่างเซิง ( ˇ )เป็นเสียง ต่ำ-ขึ้น = เวรรณยุกต์เสียงเอกของไทย
4 วรรณยุกต์เสียงที่ 4 เรียกว่า ชวี่เซิง ( ˋ ) เป็นเสียงสูง-ตก = เทียบกับวรรณยุกต์เสียงโทของไทย

ตัวอย่าง วรรณยุกต์ไทย ปา ป๋า ป่า ป้า
วรรณยุกต์ไทย bā bá bǎ bà
วางเครื่องหมายวรรณยุกต์มหลักการ มีดังนี้
เครื่องหมายวรรณยุกต์จะอยู่บนสระเท่านั้น (และดูอย่างไงล่ะสรุป ให้ใส่ตามสระดังนี้ a o e i u ü ตามลำดับ คือถ้าในคำคำหนึ่งมีสระอยู่หลายๆๆตัวไม่รู้ว่าจะใส่ตัวไหนดีก็ให้ใส่ที่สระ a o e i u ü เช่น
早 zao --> zǎo (เจ่า) เช้า
姐姐 jie jie --> jiě jiě (เจ่ย์ เจย์) พี่สาว
หลักการผสมคำ
การผสมคำเป็น pinyin จะประกอบด้วยการผสม 2 แบบ
1. ผสมระหว่างพยัญชนะ 1 ตัว กับสระ 1 ตัว
2. ผสมระหว่างพยัญชนะ 1 ตัว กับสระ 2 ตัว



ที่มา :http://h2ooiolist.exteen.com/20060416/entry-2